เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)
การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)
การสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายประเภทหนึ่งที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อสารระยะทางไกลและครอบคลุมพื้นที่กว้าง เช่น ส่งสัญญาณจากฟากหนึ่งไปยังอีกฟากหนึ่งของโลก ก่อให้เกิดการสื่อสารได้อย่างกว้างไกลไร้ขอบเขต แม้ในเขตพื้นที่ห่างไกล เช่น บริเวณหุบเขา มหาสมุทร โดยอาจเป็นสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณภาพ เสียง และการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เป็นต้น
ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมประกอบไปด้วยสองส่วนหลัก คือ สถานีภาคพื้นดิน (Ground Segment) และสถานีอวกาศ (Space Segment) โดยที่สถานี ภาคพื้นดินประกอบด้วยสองสถานีคือ สถานีรับและสถานีส่ง ซึ่งการทำงานของทั้งสองสถานีนี้มีลักษณะคล้ายกัน
สถานีภาคพื้นดิน มีอุปกรณ์หลักอยู่ 4 ชนิดดังรายละเอียดต่อไปนี้
- อุปกรณ์จานสายอากาศ (Antenna Subsystem)
มีหน้าที่ส่งสัญญาณและรับสัญญาณจากดาวเทียม
- อุปกรณ์สัญญาณวิทยุ (Radio Frequency Subsystem)
มีหน้าที่รับส่งสัญญาณวิทยุที่ใช้งาน
- อุปกรณ์แปลงสัญญาณวิทยุ (RF/IF Subsystem)
ประกอบด้วยสถานีส่งสัญญาณและสถานีรับสัญญาณ โดยด้านสถานีส่งถูกเรียกว่า ภาคแปลงสัญญาณขาขึ้น (Up Converter Part) ซึ่งทำหน้าที่แปลงย่านความถี่ที่ได้รับมาให้เป็นความถี่ที่ใช้กับงานระบบดาวเทียม จากนั้นส่งสัญญาณที่แปลงความถี่ให้ภาคขยายสัญญาณ เพื่อขยายให้เป็นสัญญาณความถี่สูง หลังจากนั้นนำส่งไปยังดาวเทียม และเช่นเดียวกันสำหรับด้านสถานีรับนั้นเรียกว่า ภาคแปลงสัญญาณขาลง (Down Converter Part) ทำหน้าที่คือแปลงสัญญาณที่ได้รับจากดาวเทียมไปเป็นความถี่ที่ใช้งาน จากนั้นส่งต่อให้ภาคแยกสัญญาณ (Demodulator) ต่อไป
- อุปกรณ์ผสมสัญญาณและแยกสัญญาณ (Modulator/Demodulator)
มีหน้าที่แปลงข้อมูลที่ต้องการส่งผ่านดาวเทียมให้เป็นสัญญาณคลื่นวิทยุที่มีข้อมูลผสมอยู่ให้นำไปใช้งานได้
รูปที่ 1 แสดงจานดาวเทียมรับ-ส่งสัญญาณที่สถานีภาคพื้นดิน
สถานีอวกาศ (Space Segment) นั้น ประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้
- อุปกรณ์ขับเคลื่อนดาวเทียม (Propulsion Subsystem)
ทำหน้าที่ทำให้ดาวเทียมหมุนและรักษาตำแหน่งไว้ด้วยก๊าซหรือพลังงานความร้อนจากไฟฟ้า
- อุปกรณ์ควบคุมดาวเทียม (Spacecraft control Subsystem)
มีหน้าที่รักษาสมดุลของดาวเทียมเพื่อไม่ให้ดาวเทียมหลุดวงโคจรออกไปในอวกาศได้
- อุปกรณ์สื่อสาร (Electronic Communication Subsystem)
มีหน้าที่รับสัญญาณจากสถานีส่งแล้วส่งต่อไปยังสถานีรับโดยมีช่องสัญญาณรับความถี่ขาขึ้น (Transponder) จากนั้นแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณความถี่ขาลง (Downlink Frequency) แล้วจึงส่งมายังสถานีรับภาคพื้นดินต่อไป
- อุปกรณ์พลังงานไฟฟ้า (Electrical Power Subsystem)
มีหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์สื่อสารและภาคควบคุมต่างๆ บนดาวเทียมนอกจากนี้ยังเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในตัวเก็บประจุหรือแบตเตอรี่ (Battery) เพื่อสำรองไว้ใช้งาน
- อุปกรณ์สายอากาศ (Antenna Subsystem)
ทำหน้าที่รับสัญญาณจากภาคพื้นดิน
- อุปกรณ์ติดตามและควบคุม (Telemetry Tracking and Command Subsystem: TT&C) มีหน้าที่ติดตามการ ทำงานของดาวเทียมและควบคุมรักษาตำแหน่งของดาวเทียมให้ถูกต้องเสมอโดยอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคม
รูปที่ 2 แสดงภาพสถานีอวกาศ
ระบบการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมนั้น มี 2 แบบ
แบบ C - Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกอยู่ในช่วงความถี่ 3.4 - 4.2 GHz ซึ่งจะมีฟุตปริ้นท์ ที่มีขนาดกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ การให้บริการได้หลายประเทศ เช่น ของดาวเทียมไทยคม 2/5 พื้นที่ให้บริการ คือทวีปเอเชีย และยุโรปบางส่วน (สมนึก ธัญญา วินิชกุล, 2549 : 10)
- ข้อดี : การใช้ดาวเทียมระบบนี้เหมาะที่จะใช้ในประเทศใหญ่ๆ เพราะครอบคลุมพื้นที่การให้บริการได้หลายประเทศ ซึ่งใช้ดาวเทียมหนึ่งดวง ก็ถ่ายทอดสัญญาณได้ ทั่วประเทศและยังถึงประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงด้วย เช่น จีน, อินโดนีเซีย, เวียดนาม เป็นต้น
- ข้อเสีย : เนื่องจากส่งครอบคลุมพื้นที่กว้างๆ ความเข็มของสัญญาณจะต่ำ จึงต้อง ใช้จาน 4 - 10 ฟุต ขนาดใหญ่รับสัญญาณภาพจึงจะคมชัด
แบบ KU - Band จะส่งคลื่นความถี่ 10 - 12 GHz สูงกว่าความถี่ C-Band สัญญาณ ที่ส่งจะครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย จึงเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ (สมนึก ธัญญาวินิชกุล, 2549 : 11)
- ข้อดี : ความเข้มของสัญญาณสูงมาก ใช้จานขนาเล็กๆ 60 - 120 เซนติเมตร ก็สามารถรับสัญญาณได้แล้ว เหมาะสำหรับส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ เช่น สัญญาณ CABLE TV (UBC)
- ข้อเสีย : ฟุตปริ้นท์ระบบ KU-Band จะแคบ ส่งเฉพาะจุดที่ต้องการ ครอบคลุมพื้นที่ได้น้อยทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ปัญหาในการรับสัญญาณภาพ เวลาเกิดฝนตกภาพจะไม่มี สาเหตุเนื่องมาจากความถี่ของ KU-Band จะสูงมากเมื่อผ่านเมฆฝน
ชนิดของดาวเทียมแบบต่างๆ
ดาวเทียมที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโครจรเหนือผิวโลก ขณะนี่มีมากกว่า 200 ดวง ซึ่งโคจร อยู่ที่ ณ ตำแหน่งต่างๆบนท้องฟ้า ดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปเหนือผิวโลกนี้สามารถ แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ของลักษณะการโครจรเหนือผิวโลก
- ดาวเทียมแบบโครจรตามยถากรรม
เป็นดาวเทียมรุ่นแรกๆ ที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโครจรเหนือพื้นผิวโลก สมัยก่อนนั้นระบบเทคโนโลยี ของการส่ง และการควบคุมดาวเทียมนั้นยังไม่ดีเท่าทีควร ดาวเทียมแบบนี้ แต่ละดวงจะมีวงโครจรเป็นของตัวเองต่างจากดวงอื่นๆ และระดับความสูงแต่ละดวงจะแตกต่างกัน และเป็นดาวเทียมที่บังคับวงโครจรและระดับความสูงไม่ได้
- ดาวเทียมแบบเฟส
เป็นดาวเทียมที่มีวงโครจรแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ที่จะให้ดาวเทียมนั้นๆโครจรผ่าน ณ ตำแหน่งใดๆเหนือพื้นโลก เช่น โครจรเหนือเส้นศูนย์สูตร โครจรเอียง 30องศา โครจรผ่านขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้เป็นต้น ดาวเทียมแบบนี้เป็นดาวเทียมที่บังคับวงโครจรได้ เช่น ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ดาวเทียมจารกรรม เป็นต้น
- ดาวเทียมแบบโครจรอยู่กับที่
เป็นดาวเทียมที่ใช้เพื่อการสื่อสาร โดยมนุษย์ส่งขึ้นไปให้มีระดับความสูงประมาณ 35,860 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก รอบเส้นศูนย์สูตร (รอบ เส้นรุ้งที่ 0 องศา ) และมีความเร็วในการโครจรรอบโลกครบหนึ่งรอบเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเราสังเกตดูดาวเทียมดวงใดดวงหนึ่ง ณ จุดใดจุดหนึ่งพื้นโลกเป็นเวลาหนึ่ง จึงดูเสมือนว่าดาวเทียมดวงเรามองอยู่นั้นลอยนิ่งอยู่กับที่ ไม่มีการเคลื่อนที่. สมัยที่ท่านเรียนหนังสือ ท่านคุณครูบ้างท่านอาจเรียกดาวเทียมชนิดนี้ว่า " ดาวเทียมค้างฟ้า " ดาวเทียมแบบนี้เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร
การโคจรของดาวเทียม
แบ่งลักษณะวงโคจรออกเป็น 3 ประเภท คือ
- Polar Orbit เป็นการโคจรมีรูปร่างเป็นวงกลม โดยมีลักษณะวงโคจรอยู่ในแนวขั้วโลก
- Inclined Orbit เป็นวงโคจรมีทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตรในมุมต่าง ๆ
- Equatorial Orbit เป็นวงโคจรทีอยู่ในระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตรรูปแบบของจานดาวเทียม
รูปแบบของจานดาวเทียม
ปัจจุบันสัญญาณดาวเทียม ที่ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย มีมากกว่า 20 ดาวเทียม การติดตั้งจานรับสัญาณดาวเทียม ที่ใช้กันอย่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ
- จานแบบมูฟสามารถเคลื่อนที่
โยกย้ายที่คอจานจะมีมอเตอร์เพื่อทำหน้าที่ดันหน้าจานให้เคลื่อนที่ ไม่ล็อคตายตัว โดยการสั่งงานผ่านรีโมทคอนโทรลไปยังที่เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อควบคุมการเคลื่อนของมอเตอร์ ให้ไปตามตำแหน่งของดาวที่เราต้องการ ซึ่งดาวเทียมที่รับได้ในประเทศไทย ในปัจจุบัน มีมากกว่า 15 ดวง โดยขนาดของจาน จะมีตั้งแต่ 6 ฟุต - 10 ฟุต จานดาวเทียมแบบมูฟมีทั้งระบบ C-Band และ KU-Band
- จานแบบฟิกซ์ยึดอย่กับที่
เป็นจานที่ออกแบบมาสำหรับติดตั้งเพื่อรับดาวเทียมแค่ดวงเดียว ฟิกซ์อยู่กับที่โดยจะรับดาวเทียมดวงไหนก็ตั้งหน้าจานหันรับไปทางดาวเทียมดวงนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ แต่โดยส่วนใหญ่จะรับดาวเทียมไทยคม 2/3 เพื่อรับชมทีวีไทย 3 5 7 9 11 ITV และยังสามารถดูต่างประเทศได้ 50 กว่าช่อง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ติดเสาอากาศไม่ชัด จานดาวเทียมแบบ Fix มีทั้งระบบ C-Band และ KU-Band
ดาวเทียมที่ใช้ในประเทศไทย
ดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ปี 2534 บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติของกระทรวงคมนาคมเป็นเวลา 30 ปี โดยได้รับ การคุ้มครองสิทธิเป็นเวลา 8 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานนามดาวเทียมของ โครงการอย่างเป็นทางการว่า "ไทยคม" (THAICOM) เพื่อเป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงประเทศไทย กับเทคโนโลยี สื่อสารใหม่ และในปีเดียวกันกลุ่มชินวัตรได้จัดตั้ง บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัดเพื่อดำเนินการโครงการ โดยทำหน้าที่จัดสร้างจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมและบริหารโครงการ ดาวเทียมไทยคมตลอดอายุสัมปทาน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่ 18 มกราคม 2537 และ ต่อมาในปี 2542 บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)ได้เปลี่ยน ชื่อเป็น "บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)" ปัจจุบันบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการจัดส่งดาวเทียม ไทยคม 1A, 2 และ 3 เข้าสู่วงโคจรในปี 2536, 2537, และ 2540 ตามลำดับ โดยดาวเทียมไทยคม 1A และ2 ซึ่งเป็นดาวเทียมรุ่นHS-376 สามารถให้บริการของช่องสัญญาณจำนวน 28 ทรานสพอนเดอร์แบ่งเป็นย่าน ความถี่ C-Band 22 ทรานสพอนเดอร์และ Ku-Band 6 ทรานสพอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 3 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรอวกาศเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2540 ดาวเทียมไทยคม 3 เป็น ดาวเทียมรุ่น Spacebus-3000A ซึ่งมีขนาดใหญ่และกำลังส่งสูงมาก ประกอบด้วยช่องสัญญาณย่านความถี่ C-Band จำนวน 25ทรานสพอนเดอร์ มีพื้นที่บริการครอบคลุมสี่ทวีป คือเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกานอกจากนี้ยังมีช่องสัญญาณย่าน ความถี่ Ku-Band 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยแบ่งเป็น Fix Spot Beam ซึ่งมีพื้นที่บริการครอบคลุมประเทศ ไทยและประเทศในภูมิภาพอินโดจีน SteerableSpot Beam ครอบคลุมพื้นที่ประเทศอินเดีย
ดาวเทียมไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ (IPSTAR)
ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานด้าน อินเทอร์เน็ต โปรโตคอล (Internet Protocol) หลังจากที่ปล่อยขึ้นสู่อวกาศไปเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2548 ที่ผ่านมา โดยบริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมจะทำให้พื้นที่ ห่างไกล มีโอกาสได้ใช้เช่นเดียวกับคนในเมืองหลวง เพียงมีแค่จานรับสัญญาณดาวเทียมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 84 -120 ซม. และแซทเทลไลท์โมเด็ม เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็ใช้งานได้ทันที ทำลายข้อจำกัดและเติมเต็มช่องว่างทางดิจิตอล เพราะไม่จำเป็นต้องรอเดินโทรศัพท์ สร้างชุมสาย และตั้งเสาสัญญาณที่มีราคาแพงๆ
ดาวเทียมไทพัฒ
ดาวเทียม “ไทพัฒ” มีขนาด 35 x 35 x 60 ซม3 น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม โคจรรอบโลกเป็นแบบวงโคจรต่ำ (Low earth orbit) มีความสูงเฉลี่ยจากผิวโลก 815 กิโลเมตร ในแนวที่ผ่านขั้วโลกเหนือและ ใต้ การโคจรแต่ละรอบใช้เวลา 101.2 นาที ทำให้โคจรรอบโลกได้วันละ 14.2 ครั้ง แต่ละครั้งของการโคจรจะผ่านเส้นแวงที่เลื่อนออกไปประมาณ 25 องศา ทำให้ดาวเทียมไทพัฒมีการโคจรผ่านทุกพื้นที่ในโลก และจะผ่านประเทศไทยทุกวันเวลาประมาณ 8.30-12.30 น. 2-3 ครั้ง และเวลา 20.30-00.30 น. 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งมีเวลาให้สถานีภาคพื้นดินติดต่อ กับดาวเทียมประมาณ 17 นาที
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
เป็นดาวเทียมซึ่งใช้ในการตรวจวัดข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถตรวจวัดข้อมูลอากาศในที่ ๆ มนุษย์ไม่สามารถทำการตรวจวัดได้โดยตรงจากเครื่องมือตรวจอากาศชนิดอื่น ๆ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้อยู่ในที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=65
- ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติมาถูกนำมาใช้ในการ สำรวจเรื่องต่างๆ ทั้งทรัพยากรน้ำ ธรณีวิทยา การเกษตร การใช้ที่ดิน ป่าไม้ การวาง ผังเมือง หรือภัยพิบัติ ซึ่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็มีหลายดวงด้วยกัน เช่น IKONOS QUICKBIRD RADASAT-1 LANDSAT-5, 7 SPOT 5 IRS-1C และล่าสุดในปีพ.ศ. 2550 ประเทศไทยได้ส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรสัญชาติไทย ดวงแรกขึ้นโคจรในอวกาศ นั่นคือ ดาวเทียม THEOS
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ http://www.engineeringtoday.net/magazine/articledetail.asp?arid=3065&pid=301
การประยุกต์ใช้ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม
- ระบบงานธนาคารนำเอาระบบสื่อสารดาวเทียมมาใช้ได้แก่อะไรบ้าง
- ระบบเงินฝากถอนโอนที่สาขา
- ระบบตรวจสอบบัตรเครดิต
- ระบบเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ
- ระบบบริหารงานสาขาและระบบสำนักงานอัตโนมัติ
- ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมในธุรกิจค้าขายหลักทรัพย์
ช่วยให้การส่งข้อมูลข่าวสาร เช่น ราคาเสนอซื้อขายไปสู่นักลงทุนในห้องค้าต่างจังหวัด เป็นไปอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ
นักลงทุนในห้องค้าต่างจังหวัดสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้เช่นเดียวกับนักลงทุนในกรุงเทพฯระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ผ่านดาวเทียม
- วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เป็นการนำระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมมาใช้ในการสื่อสารภาพ เสียงและข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการประชุมทางธุรกิจหรือสัมมนาระยะไกลระหว่างกลุ่มบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ให้สามารถ ร่วมประชุมสนทนาโต้ตอบกันได้พร้อมทั้งเห็นภาพผู้เข้าร่วมประชุม และยังสามารถแสดงภาพต่างๆ ประกอบ การประชุมได้อีกด้วย นอกเหนือจากการประชุมหรือสัมมนาแล้ววีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ยังสามารถนำไปใช้ ในการฝึกอบรม แก้ปัญหาลูกค้า และช่วยสนับ สนุนการนำเสนอสินค้าได้
- ด้านโทรทัศน์
สถานีแม่ข่ายสามารถส่งรายการผ่านดาวเทียม ไปยังสถานีเครือข่ายหรือสถานีทวนสัญญาณ เพื่อออกอากาศแพร่ภาพต่อในเขตภูมิภาค สามารถทำการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมได้โดยอุปกรณ์เคลื่อนที่
- ด้านวิทยุกระจายเสียง
สามารถถ่ายทอดสัญญาณไปมาระหว่างสถานีวิทยุจากภูมิภาคที่ห่างไกลกัน เพื่อรวบรวมข่าวสาร รวมทั้งแพร่สัญญาณถ่ายทอดต่อ ณ สถานีทวนสัญญาณ
- ด้านโทรศัพท์
สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์จากชุมสายต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ห่างไกลเข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์ ทำให้การสื่อสารสะดวก สามารถส่งผ่านได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ
- อุปกรณ์จานสายอากาศ (Antenna Subsystem)มีหน้าที่ส่งสัญญาณและรับสัญญาณจากดาวเทียม
- อุปกรณ์สัญญาณวิทยุ (Radio Frequency Subsystem)มีหน้าที่รับส่งสัญญาณวิทยุที่ใช้งาน
- อุปกรณ์แปลงสัญญาณวิทยุ (RF/IF Subsystem)ประกอบด้วยสถานีส่งสัญญาณและสถานีรับสัญญาณ โดยด้านสถานีส่งถูกเรียกว่า ภาคแปลงสัญญาณขาขึ้น (Up Converter Part) ซึ่งทำหน้าที่แปลงย่านความถี่ที่ได้รับมาให้เป็นความถี่ที่ใช้กับงานระบบดาวเทียม จากนั้นส่งสัญญาณที่แปลงความถี่ให้ภาคขยายสัญญาณ เพื่อขยายให้เป็นสัญญาณความถี่สูง หลังจากนั้นนำส่งไปยังดาวเทียม และเช่นเดียวกันสำหรับด้านสถานีรับนั้นเรียกว่า ภาคแปลงสัญญาณขาลง (Down Converter Part) ทำหน้าที่คือแปลงสัญญาณที่ได้รับจากดาวเทียมไปเป็นความถี่ที่ใช้งาน จากนั้นส่งต่อให้ภาคแยกสัญญาณ (Demodulator) ต่อไป
- อุปกรณ์ผสมสัญญาณและแยกสัญญาณ (Modulator/Demodulator)มีหน้าที่แปลงข้อมูลที่ต้องการส่งผ่านดาวเทียมให้เป็นสัญญาณคลื่นวิทยุที่มีข้อมูลผสมอยู่ให้นำไปใช้งานได้
รูปที่ 1 แสดงจานดาวเทียมรับ-ส่งสัญญาณที่สถานีภาคพื้นดิน
สถานีอวกาศ (Space Segment) นั้น ประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้
- อุปกรณ์ขับเคลื่อนดาวเทียม (Propulsion Subsystem)ทำหน้าที่ทำให้ดาวเทียมหมุนและรักษาตำแหน่งไว้ด้วยก๊าซหรือพลังงานความร้อนจากไฟฟ้า
- อุปกรณ์ควบคุมดาวเทียม (Spacecraft control Subsystem)มีหน้าที่รักษาสมดุลของดาวเทียมเพื่อไม่ให้ดาวเทียมหลุดวงโคจรออกไปในอวกาศได้
- อุปกรณ์สื่อสาร (Electronic Communication Subsystem)มีหน้าที่รับสัญญาณจากสถานีส่งแล้วส่งต่อไปยังสถานีรับโดยมีช่องสัญญาณรับความถี่ขาขึ้น (Transponder) จากนั้นแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณความถี่ขาลง (Downlink Frequency) แล้วจึงส่งมายังสถานีรับภาคพื้นดินต่อไป
- อุปกรณ์พลังงานไฟฟ้า (Electrical Power Subsystem)มีหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์สื่อสารและภาคควบคุมต่างๆ บนดาวเทียมนอกจากนี้ยังเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในตัวเก็บประจุหรือแบตเตอรี่ (Battery) เพื่อสำรองไว้ใช้งาน
- อุปกรณ์สายอากาศ (Antenna Subsystem)ทำหน้าที่รับสัญญาณจากภาคพื้นดิน
- อุปกรณ์ติดตามและควบคุม (Telemetry Tracking and Command Subsystem: TT&C) มีหน้าที่ติดตามการ ทำงานของดาวเทียมและควบคุมรักษาตำแหน่งของดาวเทียมให้ถูกต้องเสมอโดยอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคม
รูปที่ 2 แสดงภาพสถานีอวกาศ
แบบ C - Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกอยู่ในช่วงความถี่ 3.4 - 4.2 GHz ซึ่งจะมีฟุตปริ้นท์ ที่มีขนาดกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ การให้บริการได้หลายประเทศ เช่น ของดาวเทียมไทยคม 2/5 พื้นที่ให้บริการ คือทวีปเอเชีย และยุโรปบางส่วน (สมนึก ธัญญา วินิชกุล, 2549 : 10)
- ข้อดี : การใช้ดาวเทียมระบบนี้เหมาะที่จะใช้ในประเทศใหญ่ๆ เพราะครอบคลุมพื้นที่การให้บริการได้หลายประเทศ ซึ่งใช้ดาวเทียมหนึ่งดวง ก็ถ่ายทอดสัญญาณได้ ทั่วประเทศและยังถึงประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงด้วย เช่น จีน, อินโดนีเซีย, เวียดนาม เป็นต้น
- ข้อเสีย : เนื่องจากส่งครอบคลุมพื้นที่กว้างๆ ความเข็มของสัญญาณจะต่ำ จึงต้อง ใช้จาน 4 - 10 ฟุต ขนาดใหญ่รับสัญญาณภาพจึงจะคมชัด
- ข้อดี : ความเข้มของสัญญาณสูงมาก ใช้จานขนาเล็กๆ 60 - 120 เซนติเมตร ก็สามารถรับสัญญาณได้แล้ว เหมาะสำหรับส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ เช่น สัญญาณ CABLE TV (UBC)
- ข้อเสีย : ฟุตปริ้นท์ระบบ KU-Band จะแคบ ส่งเฉพาะจุดที่ต้องการ ครอบคลุมพื้นที่ได้น้อยทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ปัญหาในการรับสัญญาณภาพ เวลาเกิดฝนตกภาพจะไม่มี สาเหตุเนื่องมาจากความถี่ของ KU-Band จะสูงมากเมื่อผ่านเมฆฝน
ดาวเทียมที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโครจรเหนือผิวโลก ขณะนี่มีมากกว่า 200 ดวง ซึ่งโคจร อยู่ที่ ณ ตำแหน่งต่างๆบนท้องฟ้า ดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปเหนือผิวโลกนี้สามารถ แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ของลักษณะการโครจรเหนือผิวโลก
- ดาวเทียมแบบโครจรตามยถากรรมเป็นดาวเทียมรุ่นแรกๆ ที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโครจรเหนือพื้นผิวโลก สมัยก่อนนั้นระบบเทคโนโลยี ของการส่ง และการควบคุมดาวเทียมนั้นยังไม่ดีเท่าทีควร ดาวเทียมแบบนี้ แต่ละดวงจะมีวงโครจรเป็นของตัวเองต่างจากดวงอื่นๆ และระดับความสูงแต่ละดวงจะแตกต่างกัน และเป็นดาวเทียมที่บังคับวงโครจรและระดับความสูงไม่ได้
- ดาวเทียมแบบเฟสเป็นดาวเทียมที่มีวงโครจรแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ที่จะให้ดาวเทียมนั้นๆโครจรผ่าน ณ ตำแหน่งใดๆเหนือพื้นโลก เช่น โครจรเหนือเส้นศูนย์สูตร โครจรเอียง 30องศา โครจรผ่านขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้เป็นต้น ดาวเทียมแบบนี้เป็นดาวเทียมที่บังคับวงโครจรได้ เช่น ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ดาวเทียมจารกรรม เป็นต้น
- ดาวเทียมแบบโครจรอยู่กับที่เป็นดาวเทียมที่ใช้เพื่อการสื่อสาร โดยมนุษย์ส่งขึ้นไปให้มีระดับความสูงประมาณ 35,860 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก รอบเส้นศูนย์สูตร (รอบ เส้นรุ้งที่ 0 องศา ) และมีความเร็วในการโครจรรอบโลกครบหนึ่งรอบเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเราสังเกตดูดาวเทียมดวงใดดวงหนึ่ง ณ จุดใดจุดหนึ่งพื้นโลกเป็นเวลาหนึ่ง จึงดูเสมือนว่าดาวเทียมดวงเรามองอยู่นั้นลอยนิ่งอยู่กับที่ ไม่มีการเคลื่อนที่. สมัยที่ท่านเรียนหนังสือ ท่านคุณครูบ้างท่านอาจเรียกดาวเทียมชนิดนี้ว่า " ดาวเทียมค้างฟ้า " ดาวเทียมแบบนี้เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร
แบ่งลักษณะวงโคจรออกเป็น 3 ประเภท คือ
- Polar Orbit เป็นการโคจรมีรูปร่างเป็นวงกลม โดยมีลักษณะวงโคจรอยู่ในแนวขั้วโลก
- Inclined Orbit เป็นวงโคจรมีทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตรในมุมต่าง ๆ
- Equatorial Orbit เป็นวงโคจรทีอยู่ในระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตรรูปแบบของจานดาวเทียม
ปัจจุบันสัญญาณดาวเทียม ที่ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย มีมากกว่า 20 ดาวเทียม การติดตั้งจานรับสัญาณดาวเทียม ที่ใช้กันอย่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ
- จานแบบมูฟสามารถเคลื่อนที่โยกย้ายที่คอจานจะมีมอเตอร์เพื่อทำหน้าที่ดันหน้าจานให้เคลื่อนที่ ไม่ล็อคตายตัว โดยการสั่งงานผ่านรีโมทคอนโทรลไปยังที่เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อควบคุมการเคลื่อนของมอเตอร์ ให้ไปตามตำแหน่งของดาวที่เราต้องการ ซึ่งดาวเทียมที่รับได้ในประเทศไทย ในปัจจุบัน มีมากกว่า 15 ดวง โดยขนาดของจาน จะมีตั้งแต่ 6 ฟุต - 10 ฟุต จานดาวเทียมแบบมูฟมีทั้งระบบ C-Band และ KU-Band
- จานแบบฟิกซ์ยึดอย่กับที่เป็นจานที่ออกแบบมาสำหรับติดตั้งเพื่อรับดาวเทียมแค่ดวงเดียว ฟิกซ์อยู่กับที่โดยจะรับดาวเทียมดวงไหนก็ตั้งหน้าจานหันรับไปทางดาวเทียมดวงนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ แต่โดยส่วนใหญ่จะรับดาวเทียมไทยคม 2/3 เพื่อรับชมทีวีไทย 3 5 7 9 11 ITV และยังสามารถดูต่างประเทศได้ 50 กว่าช่อง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ติดเสาอากาศไม่ชัด จานดาวเทียมแบบ Fix มีทั้งระบบ C-Band และ KU-Band
- ดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ปี 2534 บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติของกระทรวงคมนาคมเป็นเวลา 30 ปี โดยได้รับ การคุ้มครองสิทธิเป็นเวลา 8 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานนามดาวเทียมของ โครงการอย่างเป็นทางการว่า "ไทยคม" (THAICOM) เพื่อเป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงประเทศไทย กับเทคโนโลยี สื่อสารใหม่ และในปีเดียวกันกลุ่มชินวัตรได้จัดตั้ง บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัดเพื่อดำเนินการโครงการ โดยทำหน้าที่จัดสร้างจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมและบริหารโครงการ ดาวเทียมไทยคมตลอดอายุสัมปทาน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่ 18 มกราคม 2537 และ ต่อมาในปี 2542 บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)ได้เปลี่ยน ชื่อเป็น "บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)" ปัจจุบันบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการจัดส่งดาวเทียม ไทยคม 1A, 2 และ 3 เข้าสู่วงโคจรในปี 2536, 2537, และ 2540 ตามลำดับ โดยดาวเทียมไทยคม 1A และ2 ซึ่งเป็นดาวเทียมรุ่นHS-376 สามารถให้บริการของช่องสัญญาณจำนวน 28 ทรานสพอนเดอร์แบ่งเป็นย่าน ความถี่ C-Band 22 ทรานสพอนเดอร์และ Ku-Band 6 ทรานสพอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 3 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรอวกาศเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2540 ดาวเทียมไทยคม 3 เป็น ดาวเทียมรุ่น Spacebus-3000A ซึ่งมีขนาดใหญ่และกำลังส่งสูงมาก ประกอบด้วยช่องสัญญาณย่านความถี่ C-Band จำนวน 25ทรานสพอนเดอร์ มีพื้นที่บริการครอบคลุมสี่ทวีป คือเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกานอกจากนี้ยังมีช่องสัญญาณย่าน ความถี่ Ku-Band 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยแบ่งเป็น Fix Spot Beam ซึ่งมีพื้นที่บริการครอบคลุมประเทศ ไทยและประเทศในภูมิภาพอินโดจีน SteerableSpot Beam ครอบคลุมพื้นที่ประเทศอินเดีย - ดาวเทียมไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ (IPSTAR)
ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานด้าน อินเทอร์เน็ต โปรโตคอล (Internet Protocol) หลังจากที่ปล่อยขึ้นสู่อวกาศไปเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2548 ที่ผ่านมา โดยบริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมจะทำให้พื้นที่ ห่างไกล มีโอกาสได้ใช้เช่นเดียวกับคนในเมืองหลวง เพียงมีแค่จานรับสัญญาณดาวเทียมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 84 -120 ซม. และแซทเทลไลท์โมเด็ม เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็ใช้งานได้ทันที ทำลายข้อจำกัดและเติมเต็มช่องว่างทางดิจิตอล เพราะไม่จำเป็นต้องรอเดินโทรศัพท์ สร้างชุมสาย และตั้งเสาสัญญาณที่มีราคาแพงๆ - ดาวเทียมไทพัฒดาวเทียม “ไทพัฒ” มีขนาด 35 x 35 x 60 ซม3 น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม โคจรรอบโลกเป็นแบบวงโคจรต่ำ (Low earth orbit) มีความสูงเฉลี่ยจากผิวโลก 815 กิโลเมตร ในแนวที่ผ่านขั้วโลกเหนือและ ใต้ การโคจรแต่ละรอบใช้เวลา 101.2 นาที ทำให้โคจรรอบโลกได้วันละ 14.2 ครั้ง แต่ละครั้งของการโคจรจะผ่านเส้นแวงที่เลื่อนออกไปประมาณ 25 องศา ทำให้ดาวเทียมไทพัฒมีการโคจรผ่านทุกพื้นที่ในโลก และจะผ่านประเทศไทยทุกวันเวลาประมาณ 8.30-12.30 น. 2-3 ครั้ง และเวลา 20.30-00.30 น. 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งมีเวลาให้สถานีภาคพื้นดินติดต่อ กับดาวเทียมประมาณ 17 นาที
- ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
เป็นดาวเทียมซึ่งใช้ในการตรวจวัดข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถตรวจวัดข้อมูลอากาศในที่ ๆ มนุษย์ไม่สามารถทำการตรวจวัดได้โดยตรงจากเครื่องมือตรวจอากาศชนิดอื่น ๆ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้อยู่ในที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=65 - ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติมาถูกนำมาใช้ในการ สำรวจเรื่องต่างๆ ทั้งทรัพยากรน้ำ ธรณีวิทยา การเกษตร การใช้ที่ดิน ป่าไม้ การวาง ผังเมือง หรือภัยพิบัติ ซึ่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็มีหลายดวงด้วยกัน เช่น IKONOS QUICKBIRD RADASAT-1 LANDSAT-5, 7 SPOT 5 IRS-1C และล่าสุดในปีพ.ศ. 2550 ประเทศไทยได้ส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรสัญชาติไทย ดวงแรกขึ้นโคจรในอวกาศ นั่นคือ ดาวเทียม THEOS
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ http://www.engineeringtoday.net/magazine/articledetail.asp?arid=3065&pid=301
- ระบบงานธนาคารนำเอาระบบสื่อสารดาวเทียมมาใช้ได้แก่อะไรบ้าง
- ระบบเงินฝากถอนโอนที่สาขา
- ระบบตรวจสอบบัตรเครดิต
- ระบบเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ
- ระบบบริหารงานสาขาและระบบสำนักงานอัตโนมัติ
- ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมในธุรกิจค้าขายหลักทรัพย์
ช่วยให้การส่งข้อมูลข่าวสาร เช่น ราคาเสนอซื้อขายไปสู่นักลงทุนในห้องค้าต่างจังหวัด เป็นไปอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ
นักลงทุนในห้องค้าต่างจังหวัดสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้เช่นเดียวกับนักลงทุนในกรุงเทพฯระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ผ่านดาวเทียม - วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เป็นการนำระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมมาใช้ในการสื่อสารภาพ เสียงและข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการประชุมทางธุรกิจหรือสัมมนาระยะไกลระหว่างกลุ่มบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ให้สามารถ ร่วมประชุมสนทนาโต้ตอบกันได้พร้อมทั้งเห็นภาพผู้เข้าร่วมประชุม และยังสามารถแสดงภาพต่างๆ ประกอบ การประชุมได้อีกด้วย นอกเหนือจากการประชุมหรือสัมมนาแล้ววีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ยังสามารถนำไปใช้ ในการฝึกอบรม แก้ปัญหาลูกค้า และช่วยสนับ สนุนการนำเสนอสินค้าได้
- ด้านโทรทัศน์
สถานีแม่ข่ายสามารถส่งรายการผ่านดาวเทียม ไปยังสถานีเครือข่ายหรือสถานีทวนสัญญาณ เพื่อออกอากาศแพร่ภาพต่อในเขตภูมิภาค สามารถทำการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมได้โดยอุปกรณ์เคลื่อนที่ - ด้านวิทยุกระจายเสียง
สามารถถ่ายทอดสัญญาณไปมาระหว่างสถานีวิทยุจากภูมิภาคที่ห่างไกลกัน เพื่อรวบรวมข่าวสาร รวมทั้งแพร่สัญญาณถ่ายทอดต่อ ณ สถานีทวนสัญญาณ - ด้านโทรศัพท์
สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์จากชุมสายต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ห่างไกลเข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์ ทำให้การสื่อสารสะดวก สามารถส่งผ่านได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ
ข้อดีข้อเสียของดาวเทียม
ข้อดี
1. สามารถส่งสัญญาณแพร่ออกไปได้ไกลทั่วโลก
2. ต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่ขึ้นกับระยะทาง
ข้อเสีย
1. ลงทุนสูงมาก เนื่องจากอุปกรณ์มีราคาแพง
2. ปัญหาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากสัญญาณดาวเทียมส่งข้อมูลแบบแพร่กระจาย
3. เนื่องจากดาวเทียมใช้คลื่นความถี่สูง จึงสามารถถูกรบกวนด้วยสภาพภูมิอากาศแปรปรวน
ข้อดี
1. สามารถส่งสัญญาณแพร่ออกไปได้ไกลทั่วโลก
2. ต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่ขึ้นกับระยะทาง
ข้อเสีย
1. ลงทุนสูงมาก เนื่องจากอุปกรณ์มีราคาแพง
2. ปัญหาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากสัญญาณดาวเทียมส่งข้อมูลแบบแพร่กระจาย
3. เนื่องจากดาวเทียมใช้คลื่นความถี่สูง จึงสามารถถูกรบกวนด้วยสภาพภูมิอากาศแปรปรวน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น